ผืนป่าตะวันตก
  ความงดงามที่บริสุทธ์ิแห่งผืนป่าแถบชายแดนของเมืองไทยและพม่า

ไทย English  česky 

 

   

 หน้าหลัก


  สุนทรพจน์ของ
  เอกอัคราชทูต

 
รณรงค์
 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
 แกลเลอรี่ภาพ

 บริเวณ
 
เขตป่าสงวน
 
ประวัติศาสตร์ร
 
ภูมิศาสตร์ และภูมิอากาศ
 
พันธ์พืชและสัตว์ป่า

 แหล่งท่องเที่ยวและ
  กิจกรรม

 
สิ่งอำนวยความสะดวก 
 
การเดินทาง
 
ลิงค์

 

พรรณพืช และพรรณสัตว์

ผืนป่าตะวันตกตั้งอยู่ในระหว่างพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ชีวภาพ (biogeographical zones) สี่แห่ง คือ อินโดจีน (Indo-Chinese) ชีโน-มาลายัน(Sino-Malayan) อินโด-เบอร์มีส (Indo-Burmese) และอินเดียตะวันออก (Eastern India) พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ชีวภาพที่ทับซ้อนกันเหล่านี้ก่อให้เกิดลักษณะ ที่โดดเด่นเชิงพรรณพืชและสัตว์ป่าแบบเอเชีย สามารถพบได้ในเขตรักษาพรรณสัตว์์ ป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวรสมดังลักษณะที่ี่องค์กรยูเนสโกได้ประกาศให้เป็น มรดกโลกในปี 1991.

พื้นที่ผืนป่าตะวันตกมีเนื้อที่กว่า ๑๘,๗๓๐ ตารางกิโลเมตร อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพรรณพืชและสัตว์ป่า ซึ่งมีทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ๑๕๓ ชนิด, นก ๔๙๐ ชนิด สัตว์เลี้อยคลาน ๔๑ ชนิด และปลาอีกกว่า ๑๐๘ ชนิด ผืนป่าตะวันตกยังให้กำเนิดแหล่งน้ำที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม คุณค่าการอนุรักษ์ได้ลดความสำคัญลงไปเมื่อมีการสร้างอ่างเก็บน้ำ (ศรีนครินทร์ และเขาแหลม) เมื่อมีการสร้างถนนตัดผ่านด่านเจดีย์สามองค์และ เมื่อมีการเข้าไปตั้งรกรากของมนุษย์

บริเวณเชิงนิเวศของป่าฝนในแนวเขาคะยากะเหรี่ยงติดอันดับต้นในฐานะเป็นแหล่งที่อยู่ของนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอินโดจีน แต่ความสำคัญของทุ่งใหญ่นเรศวรห้วยขาแข้างนั้นถือเป็นพื้นที่คุ้มครองเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทยทีี่มีขนาดใหญ่เพียงพอสำหรับการอยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หลากชนิดในระยะเวลาที่ยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นเสือ ลิงไพรเมทกว่า ๑๐ ชนิด (ซึ่ง ๕ ชนิดเป็นลิงมะคักในพื้นที่) แมวป่า ช้าง สมเสร็จ, และกวางประจำถ่ินประเทศไทยอีก ๕ ชนิด สัตว์กินเนื้อทั้งหมด ๒๗ ชนิดที่มีการบันทึกไว้ที่พบในเขตรักษาพรรณสัตว์ป่านี้ถือเป็นร้อยละ ๗๕  ของประชากรสัตว์กินเนื้อในประเทศไทย และร้อยละ ๖๓ ของสัตว์กินเนื้อในเอเชียอาคเนย์ ประชากรของนกในเขตรักษาพรรณสัตว์แห่งนี้ยังถือเป็นเศษหนึ่งส่วนสามของประชากรนกในเอเชียอาคเนย์ และคิดเป็นร้อยละ ๕๗ ของประชากรนกที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย

ในพื้นที่ทางทิศใต้ของผืนป่าตะวันตก อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมถึง ๔๑ ชนิด อุทยานยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่ใหญ่ที่สุดของประชากรช้างในประเทศไทย และเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการสำรวจติดตามประชากรของเสือและแหล่งอาหารของเสือ ตามแม่น้ำเพชรบุรีใน  มีนกกว่า ๒๒๐ ชนิดที่ได้บันทึกไว้ ซึ่งรวมทั้ง นกเงือก สี่ชนิด และจรเข้น้ำจืดสามารถพบได้เช่นกันในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าแหล่ง ๆ อื่น ๆ ในประเทศไทย
 


ต้องการข้อมูลเพ่ิมเติมเกี่ยวกับพรรณพืชและพรรณสัตว์ของผืนป่า ตะวันตกคลิกได้ที่หน้าพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
 
 
พันธ์พืชป่า ความหลากหลายไร้ขีดจำกัดของเฉดสีและกลิ่น หมอกแห่งจิตวิญญาณ ลมหายใจแห่งดงป่า น้ำตกที่งดงาม แหล่งน้ำของเมืองไทย หนึ่งในแหล่งอยู่อาศัยของสัตว์ป่าผู้ตกเป็นเหยื่อ ความอุดมสมบูรณ์ของชีิวิตแห่งป่า ความเบ่งบานหลากหลายสีสรร แรงบันดาลใจไร้ที่สิ้นสุด

 

โดยกระทรวงต่างประเทศ

โครงการนี้ได้ริเริ่มและได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากรัฐบาลสาธารณรัฐเชก (โดยกระทรวงต่างประเทศ)
และโดยการสนับสนุนของ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยถูกต้องตามกฎหมาย(DNP), สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย(TEATA), มูลนิธิอนุรักษ์ป่าตะวันตก (FWFCC) และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวกาญจนบุรี(TSK) ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ info[at]westernforest[dot]org
เอื้อเฟ้ือภาพถ่ายและออกแบบเว็บไซต์ โดย เดวิด กูเชรา แปลและเรียบเรียงภาคภาษาไทย โดย กฤศ ธีราทิตยกุล
 

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยถูกต้องตามกฎหมาย