ผืนป่าตะวันตก
  ความงดงามที่บริสุทธ์ิแห่งผืนป่าแถบชายแดนของเมืองไทยและพม่า

ไทย English  česky 

 

   

 หน้าหลัก


  สุนทรพจน์ของ
  เอกอัคราชทูต

 
รณรงค์
 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
 แกลเลอรี่ภาพ

 บริเวณ
 
เขตป่าสงวน
 
ประวัติศาสตร์ร
 
ภูมิศาสตร์ และภูมิอากาศ
 
พันธ์พืชและสัตว์ป่า

 แหล่งท่องเที่ยวและ
  กิจกรรม

 
สิ่งอำนวยความสะดวก 
 
การเดินทาง
 
ลิงค์

 

เขตอนุรักษ์สัตว์ > อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน


นกเงือกกรามช้างตัวผู้และตัวเมีย
 
ทะเลหมอก
 

ผักผ่อนในป่าลึกริมแม่น้ำเพชรบุรี
 

ค่างแว่นกับลูกน้อย
 

แก่งกระจานเป็นชื่ออุทยานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุด ณ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานอาจมีชื่อใหญ่ก็จริงแต่ยังมีความสงบและน่าแสวงหามาก ในขณะที่เขาใหญ่เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวพลุกพล่านในวันหยุดสุดสัปดาห์ แก่งกระจานกลับไม่เป็นเช่นนั้นยังคงรักษาความเงียบสงบเช่นเคย แต่อุทยานแห่งนี้คือสวรรค์ที่เยี่ยมยอดของนักรักธรรมชาติที่ไม่ต้องการการรบกวนจากคนหมู่มาก

ประวัติความเป็นมา


อุทยานแห่งนี้ได้รับการประกาศขึ้นเป็นอุทยานในวัันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๔ และในปี ๒๕๓๗ มีการขยายพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่เขตจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ อุทยานแห่งนี้ยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกอาเซียนด้วยเช่นกัน


ภูมิศาสตร์
และภูมิอากาศ

อุทยานครอบคลุมพื้นที่ป่าดิบเขาลาดเอียงด้านทิศตะวันออกของเทือกเขาตะนาวศรี ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล ๑๒๐๐ เมตร ตลอดทั้งปีมีความชื้นสูงและมีฝนตกหนักในระหว่างฤดูฝนและอากาศเย็นเกือบตลอดปี พื้นที่ที่สูงชันของอุทยานจะมีความชื้นสูงกว่าป่าใหม่และพื้นที่เปิดในระดับน้ำทะเลที่ตำ่กว่านี้

อุทยานยังเป็นแหล่งกำเนิดของอีกสองแม่น้ำ คือ แม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำเพชรบุรีซึ่งใหลออกจากเขื่อนแก่งกระจานทางด้านทิศตะวันออกของอุทยานแล้วใหลลงผ่านไร่นาและสวนของเกษตรกรแล้วเข้าสู่ตัวจังหวัดเพชรบุรี ส่วนอีกด้านหนึ่งทางทิศใต้ของอุทยานใหลออกสู่เขื่อนปราณบุรีแล้วจึงเลี้ยวเข้าสู่ตัวเมือง เนื่องจากมีปริมาณฝนชุกและป่าอันอุดมสมบูรณ์ในต้นนำ้แห่งนี้ สายนำ้ น้ำตก, แม่น้ำที่แก่งกระจานจึงใหลตลอดปี

ส่วนของอุทยานแห่ง (รวมเอาบริเวณบ้านกรางและพะเนินทุ่ง) จะปิดในฤดูฝนตั้งแต่เดือน สิงหาคมถึงตุลาคม ทุกปีเพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวและการฟื้นตัวของป่า


พันธุ์สัตว์


พื้นที่อุทยานทางทิศตะวันตกเป็นเขตติดต่อผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศพม่า ซึ่งนี้เป็นผลดีต่อการอนุรักษ์ป่าและช่วยให้สัตว์ได้ข้ามเขตได้อย่างเสรีและส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานมีพื้นที่ติดต่อกับ
เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าแม่น้ำภาชีและล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ป่าของเขตรักษาพันธ์ัสัตว์ป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวรทางด้านทิศเหนือ ผืนป่าทั้งหมดนี้เต็มไปด้วยคุณค่าทางชีวภาพที่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและผืนป่าต้นน้ำทางด้านทิศตะวันตก

พื้นที่ของอุทยานส่วนใหญ่เป็นป่าริมเขาสูงชัน พื้นที่ส่วนใหญ่ หรือ มากกว่าสามส่วนสี่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ ๓๐ พื้นที่ร้อยละ ๘๕ ปกคลุมไปด้วยป่าดิบเขา และที่เหลืออีกร้อยละ ๑๐ เป็นป่าผลัดใบ ป่ามีความร่ำรวยและซับซ้อน ทั้งมีพืชประเภทพืชเบียน เฟิร์น และกล้วยไม้ ป่ามีความหลากหลายเป็นพิเศษเนื่องจากพื้นที่ที่อยู่บนรอยเชื่อมกันระหว่างทวีปเอเชีย (Asiatic) และแหลมมลายู (Malaysian) พืชท้องถิ่นที่พบได้ในเขตนี้ เช่น ไม้โอ๊ค(Oaks) ก่อ (Chestnut) หรือเมเปิล(Maples) เช่นเดียวกันกับปาล์มและพืชที่ให้ผลอื่น ๆ


พันธุ์สัตว์


เช่นเดียวกับชุมชนพืช สัตว์ป่าในอุทยานแห่งชาตินี้มีทั้งที่เชื้อสายเอเซียติก (Asiatic) และมาเลเซียน (Malaysian) นกกว่า ๔๐๐ ชนิดสามารถพบได้ในเขตอุทยานและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกว่า ๕๗ ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ก็พบได้เช่นกัน เช่น ช้าง (Elephant), หมี (Bear),
กวางแซมบ้า (sambar deer), วัวแดง (gaur), หมี(tiger), เสือดาว(leopard), สมเสร็จมาเลย์ (Malayan tapir), ชะนี (gibbon), ค่าง(langurs), หมาป่า(Asian wild dog), อีเห็น(otter), หมูป่า(wild boar)

สำหรับนกที่บันทึกพบในพื้นที่อุทยานแห่งนี้ประกอบไปด้วยนกเงือก ๖ ชนิด,  ไก่ป่า(peacock-pheasant)
, นกแว่นสีน้ำตาล (peacock-pheasant), นกกระสา(stork), นกอินทรีย์ดำ (black eagle), และนกหัวขวาน (woodpeckers) อีกหลายชนิดและนกป่าอื่น ๆ อีกมากมาย

แหล่งท่องเที่ยว


น้ำตกทอทิพย์ - มีถึง ๙ ชั้นตั้งอยู่ลึกเข้าไปในป่า น้ำใหลตลอดปี เข้าถึงได้ด้วยการเดินป่าระยะทางกว่า ๔ กิโลเมตรจากจุดสิ้นสุดปลายทางของน้ำตกทอทิพย์ ๓๕ กิโลเมตรจากเขตสิ้นสุดของเขตอุทยาน และ ๕๕ กิโลเมตรจากอาคารสำนักงาน บริเวณที่ตั้งแคมป์ใกล้ ๆ กับจุดเริ่มต้นของแม่น้ำเพชรบุรี

ทะเลหมอก - หมอกในยามเช้าค่อย ๆ จางไปในหุบเขาเมื่อยามสายสามารถมองเห็นได้บนจุดชมวิวที่กิโลเมตรที่ ๓๖ จากอาคารสำนักงาน

น้ำตกปาละอู - น้ำตก ๑๖ ชั้นใหลตลอดปี ตั้งอยู่ในเขตอุทยานทางด้านทิศใต้ของอุทยานและเดินทางได้สะดวกที่สุดจากหัวหิน

ถ้ำวิมาน - หินงอกหินย้อยที่สวยงามพบได้ในถ้ำที่เย็นสบายแห่งนี้ นอกจากนั้นยังมีหลักฐานการอาศัยอยู่ของมนุษย์ในยุคโบราณ เช่น เซรามิกส์และขวานหิน

ที่ราบหนุมาน(เขาปะการัง) - ภูเขาหินที่เหมือนปะการัง พื้นที่แห่งนี้มีค่างและชะนีอยู่มากและเป็นจุดชมวิวที่ดี


กิจกรรม


การเดินป่า(เทรกกิ้งและศึกษาธรรมชาติ), ดูนก, ดูผีเสื้อ, ชมถ้ำ ล่องแพ, ล่องแคนู, คายัก

การเดินป่าสู่แม่น้ำเพชรบุรี ระยะทาง - ๘ กิโลเมตร (ทั้งไปและกลับ) ผ่านป่าดงดิปสู่หุบเขาต้นกำเนิดแม่น้ำเพชรบุรี การเดินป่าจะผ่านแม่น้ำทอทิพย์ด้วย

เส้นทางการเดินพะเนินทุ่งแพรก ระยะทาง - ๑๒ กิโลเมตร (ทั้งไปและกลับ) ขึ้นสู่พะเนินทุ่งความสูง ๑๒๐๗ เมตรซึ่งถือเป็นยอดเขาสูงอันดับสองของอุทยานแห่งชาติ เริ่มเดินที่กิโลเมตรที่ ๒๗ ป่าทุ่งหญ้าและป่าดิบเขาทำให้เหมาะสำหรับการตั้งแคมป์ข้างบนและมีจุดชมภูมิทัศน์ที่สวยงามของป่าดิบเขาและทะเลหมอกในยามเช้า


เครื่องอำนวยความสะดวก


อาคารสำนักงาน
- ที่พัก, ร้านอาหาร, ศูนย์ข้อมูล, ที่จอดรถ
หน่วยบริการตั้งเต็นท์บ้านกลาง - ที่พัก, ที่จอดรถ
ที่ตั้้งเต้นท์ทิศเหนือพะเนินทุ่ง
- ที่พัก, ร้านอาหาร, ที่จอดรถ
หน่วยอุทยานน้ำตกพลาอู - ที่พัก, และที่จอดรถ


ที่พัก


บังกะโลและบริเวณที่ตั้งเต้นท์(อาคารสำนักงาน, บ้านกราง และพะเนินทุ่ง) อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติและมีรีสอร์ทหลายแห่งบริกการอยู่นอกเขตอุทยาน


การเดินทาง


โดยรถยนตร์จากเพชรบุรี (ทิศเหนือ) หรือจากหัวหิน หรือประจวบคีรีขันธ์ (จากทิศใต้)

ข้อควรระวัง เวลาจำกัดในการขึ้นลงพะเนินทุ่งไปบริเวณตั้งแคมป์ 05.30 - 07.30 และ 1.00 - 3.00
ส่วนเวลาลงจากพะเนินทุ่งไปยังบ้านกราง
09.00 - 10.00 และ 16.00 - 17.00

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อที่

กรมอุทยานแห่งชาติ  อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานติดต่อขอข้อมูลเกี่ยวกับที่พัก, ที่พัก, การจองที่พักระบบออนไลน์, เครื่องอำนวยความสะดวก, อื่น ๆ
แผนที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
แผนที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
แผนที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

 
 
พันธ์พืชป่า ความหลากหลายไร้ขีดจำกัดของเฉดสีและกลิ่น หมอกแห่งจิตวิญญาณ ลมหายใจแห่งดงป่า น้ำตกที่งดงาม แหล่งน้ำของเมืองไทย หนึ่งในแหล่งอยู่อาศัยของสัตว์ป่าผู้ตกเป็นเหยื่อ ความอุดมสมบูรณ์ของชีิวิตแห่งป่า ความเบ่งบานหลากหลายสีสรร แรงบันดาลใจไร้ที่สิ้นสุด

 

โดยกระทรวงต่างประเทศ

โครงการนี้ได้ริเริ่มและได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากรัฐบาลสาธารณรัฐเชก (โดยกระทรวงต่างประเทศ)
และโดยการสนับสนุนของ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยถูกต้องตามกฎหมาย(DNP), สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย(TEATA), มูลนิธิอนุรักษ์ป่าตะวันตก (FWFCC) และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวกาญจนบุรี(TSK) ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ info[at]westernforest[dot]org
เอื้อเฟ้ือภาพถ่ายและออกแบบเว็บไซต์ โดย เดวิด กูเชรา แปลและเรียบเรียงภาคภาษาไทย โดย กฤศ ธีราทิตยกุล
 

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยถูกต้องตามกฎหมาย