ผืนป่าตะวันตก
  ความงดงามที่บริสุทธ์ิแห่งผืนป่าแถบชายแดนของเมืองไทยและพม่า

ไทย English  česky 

 

   

 หน้าหลัก


  สุนทรพจน์ของ
  เอกอัคราชทูต

 
รณรงค์
 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
 แกลเลอรี่ภาพ

 บริเวณ
 
เขตป่าสงวน
 
ประวัติศาสตร์ร
 
ภูมิศาสตร์ และภูมิอากาศ
 
พันธ์พืชและสัตว์ป่า

 แหล่งท่องเที่ยวและ
  กิจกรรม

 
สิ่งอำนวยความสะดวก 
 
การเดินทาง
 
ลิงค์

 

เขตอนุรักษ์สัตว์ > เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

ลำธารบริเวณรอบ ๆ สำนักงานเขตอนุรักษ์พันธ์ุสัตว์ป่าใหลลงสู่แม่น้ำขาแข้ง

เนื่องจากมีพื้นที่ติดต่อกับเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เมื่อรวมกันของทั้งสองพื้นที่ ผืนป่าห้วยขาแข้งถือว่าเป็นเขตอนุรักษ์สัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ โดยมีพื้นที่ถึง ๖๒๒,๒๐๐๐ เฮกเตอร์ แม้ว่าเขตอนุรักษ์ทั้งสองแห่งจะมีหน่วยจัดการแตกต่างกัน ทั้งสองแห่ลก็ได้รับการประกาศให้เป็นมรดรโลกทั้งสองในปี ๑๙๙๑ จากองค์กรสหประชาชาติ

ประวัติความเป็นมา


เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าประกาศให้เป็นเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าในวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕

พันธ์ุพืช

ทั้งพื้นที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้งมีพื้นที่ชุ่มน้ำ ป่าชายเลน แหล่งน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด บึง หนอง ทุ่งหญ้าสะวันน่า และลำธารอีกหลายแห่ง ซึ่งเหมาะสมสำหรับการขยายพันธ์

พันธุุ์สัตว์

เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เป็นอย่างดี จากจำนวน ๒๖๕ ชนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีถึง ๖๗ ชนิดที่พบในเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าแห่งนี้

มีการพบควายป่า ๑ ฝูง ประมาณ ๒๐ ถึง ๔๐ ตัว (ซึ่งน่าจะเป็นเพียงฝูงเดียวในประเทศไทย) ในทางตอนใต้ของเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่า แต่ยังไม่มีการพิสูจน์ชัดเจนว่าได้มีการผสมพันธ์ุข้ามสายพันธ์ุกับควายบ้านหรือไม่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกหลายชนิดที่อยู่ในภาวะคุกคาม ได้แก่ หมาป่า, เสือ, เสือดาว, ช้างเอเชีย,(มีอยู่ประมาณ ๑๕๐ ถึง ๒๐๐ ตัว) สมเสร็จ (ไม่ค่อยพบตัว พบแต่เพียงรอยเท้าในพื้นที่บางส่วนของเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่า) กระทิงและ

วัวแดง มักเห็นได้ท่ัวไป แม้ว่าจะมีจำนวนลดลงในประเทศไทยเนื่องจากการล่า และมี otter อย่างน้อยสองชนิดที่มีการจำแนกสายพันธ์ุ ส่วนลิงมะคัคพบได้ในประเทศ เช่นเดียวกันกับลิงไพรเมทอื่นๆ 

ที่พัก

บริเวณกางเต้นท์และบังกะโลมีไว้ให้บริการที่สำนักงานและหน่วยเฝ้าระวังิอื่น ๆ


การเดินทาง


เดินทางโดยรถยนตร์จากบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ระยะเทาง ๗๐ กิโลเมตร ในหน้าแล้งไม่จำเป็นต้องใช้รถยนตร์ขับเคลื่อนสี่ล้อ(หน้าแล้งจากพฤศจิกายนถึงเมษายน)

การเดินทางสู่เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่า

เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งมีกฏเกณฑ์ที่เข้มงวดมากกว่าอุทยานแห่งชาติในการที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยว เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าได้กำหนดขึ้นเป็นพื้นที่ให้สัตว์ได้อยู่และ เคลื่อนที่อย่างสะดวกและโดยไม่มีการรบกวนอย่างดีที่สุด ดังนั้นจะเปิดต้อนรับเฉพาะเพื่อการทำวิจัยหรือเพื่อการศึกษา หรือ การทำงาานแบบอาสาสมัครเท่านั้น

ติดต่อรับข้อมูลเพิ่มเติม

ต้องการรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง คลิกดูที่หน้า สำนักงานส่วนภูมิภาคของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme)

 
 
พันธ์พืชป่า ความหลากหลายไร้ขีดจำกัดของเฉดสีและกลิ่น หมอกแห่งจิตวิญญาณ ลมหายใจแห่งดงป่า น้ำตกที่งดงาม แหล่งน้ำของเมืองไทย หนึ่งในแหล่งอยู่อาศัยของสัตว์ป่าผู้ตกเป็นเหยื่อ ความอุดมสมบูรณ์ของชีิวิตแห่งป่า ความเบ่งบานหลากหลายสีสรร แรงบันดาลใจไร้ที่สิ้นสุด

 

โดยกระทรวงต่างประเทศ

โครงการนี้ได้ริเริ่มและได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากรัฐบาลสาธารณรัฐเชก (โดยกระทรวงต่างประเทศ)
และโดยการสนับสนุนของ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยถูกต้องตามกฎหมาย(DNP), สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย(TEATA), มูลนิธิอนุรักษ์ป่าตะวันตก (FWFCC) และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวกาญจนบุรี(TSK) ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ info[at]westernforest[dot]org
เอื้อเฟ้ือภาพถ่ายและออกแบบเว็บไซต์ โดย เดวิด กูเชรา แปลและเรียบเรียงภาคภาษาไทย โดย กฤศ ธีราทิตยกุล
 

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยถูกต้องตามกฎหมาย