ผืนป่าตะวันตก
  ความงดงามที่บริสุทธ์ิแห่งผืนป่าแถบชายแดนของเมืองไทยและพม่า

ไทย English  česky 

 

   

 หน้าหลัก


  สุนทรพจน์ของ
  เอกอัคราชทูต

 
รณรงค์
 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
 แกลเลอรี่ภาพ

 บริเวณ
 
เขตป่าสงวน
 
ประวัติศาสตร์ร
 
ภูมิศาสตร์ และภูมิอากาศ
 
พันธ์พืชและสัตว์ป่า

 แหล่งท่องเที่ยวและ
  กิจกรรม

 
สิ่งอำนวยความสะดวก 
 
การเดินทาง
 
ลิงค์

 

เขตอนุรักษ์สัตว์ > อุทยานแห่งชาติเอราวัณ


การเปลี่ยนแปลงของป่า ส่วนที่ ๑ สายน้ำแห่งน้ำตกเอราวัณในปี ๒๕๔๑

 

การเปลี่ยนแปลงของป่า ส่วนที่ ๒ สายนำ้ของน้ำตกเอราวัณในอีกสิบปีต่อมา ในปี ๒๕๕๑

 

องค์ประกอบที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติ คือ น้ำตกเอราวัณและถ้าพระธาตุซึ่งมีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม

ประวัติความเป็นมา

ได้รรับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติในปี ๒๕๑๘ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ ๑๒

ภูมิศาสตร์สภาพอากาศ

พื้นที่เขาหินปูน ณ อุทยานแห่งชาติอยู่บนความสูงตั้งแต่ ๑๖๕ จนถึง ๙๙ู๖ เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ลำน้ำสายสำคัญหลายสายเกิดจากเทือกเขาแห่งนี้ เทือกเขายังช่วยป้องกันลมมรสุมตะวันตะวันออกซึ่งส่งผลให้ปริมาณฝนน้องกว่าปกติ ฤดูฝนเริ่มจากพฤษภาคมถึงตุลาคมเมื่อลมมีพายุเข้ามาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูหนาวเริ่มจากเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคมเป็นช่วงที่อากาศเริ่มเย็น สบายในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนอากาศเริ่มร้อนและอุณหภูมิสูงขึ้น อุทยานเปิดให้เข้าชมได้ตลอดปี

พันธุ์พืช

ประเภทของป่าในอุทยานแห่งชาติเอราวัณเป็นป่าเบญจพรรณครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ ๘๑ ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ป่าประเภทอื่น ๆ ก็มีป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา เป็นต้น

พันธุ์สัตว์

อุทยานเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ๕ ประเภท สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
, สัตว์เลี้อยคลาน, สัตว์ครึ่งครึ่งน้ำครึ่งบก, นก และสัตว์น้ำจืดอื่น ๆ สัตว์ที่มีการขึ้นทะเบียนไว้แล้วในอุทยาน คือ ช้าง (Indian elephant) เสือ (tiger), กวางแซมบ้า (samba deer), หมูป่า (wild boar), ชะนี(gibbon), ค่าง (langur), กระต่าย (Siamese hare), บ่าง (Red flying squirrel) ไก่ฟ้า (pheasant), นกยูง (grey peacock pheasant), และอื่น ๆ

แหล่งท่องเที่ยว

น้ำตกเอราวัณ
- น้ำตกเจ็ดชั้นที่ล้อมรอบไปด้วยป่าเขียวขจีมีความสูงของธารน้ำกว่า ๑๕๐๐ เมตร มีทางเดินชมน้ำตกไปถึงช้ันที่ ๖ ต่อจากนั้นนักท่องเที่ยวต้องปีนป่ายพอสมควรกว่าจะถึงชั้นที่เจ็ด แม้ว่าจะลำบากด้วยการปีนป่าย แต่ก็คุ้มค่ากับความพยายามสำหรับความสวยงามของน้ำตกที่สายน้ำแตก กระจายกระทบเจาะพื้นหินเข้าจนกลายเป็นสระเล็ก ๆ ลึก ส่วนบนสุดของน้ำตกชั้นมีรูปร่างคล้ายกับเศียรของพญาช้างสารเอราวัณสามเศียรในตำนานของฮินดู
ถ้ำพระธาตุตั้งอยู่
- ณ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๑๒ จากสำนักงานใหญ่ เป็นถ้ำขนาดใหญ่มีความสวยงามเต็มไปด้วยหินงอกหินย้อย ลักษณะทางธรณีวิทยาเขาหินปูนปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนที่กำแพง    ผนังถ้ำ
ถ้ำหมี
- ชื่อของถ้ำปรากฏตามความเชื่อของคนท้องถิ่นว่าถ้ำนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของหมี ภายในถ้ำประกอบไปด้วยห้อง ๕ ห้องเต็มไปด้วยหินรูปร่างแปลก หินงอกและหินย้อย
ถ้ำวังบาดาล
- เป็นถ้ำเขาหินปูนขนาดใหญ่แต่มีปากถ้ำที่แคบ มีห้องต่าง ๆ ภายในถ้ำ และที่พื้นล่างมีน้ำใหลผ่านตลอดไป ในแต่ละห้องยังมีหินงอกหินย้อยที่ระยิบระยับตา (หินกากเพชร) มีชื่อเรียกตามความเชื่อท้องถิ่นต่าง ๆ กัน เช่น ม่านพระอินทร์ (), เข็มนารายณ์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่ ถ้ำตั้งอยู่ ๕๔ กิโลเมตรจากอาคารสำนักงาน และปากทางเข้าถ้ำอยู่ห่างจาก หน่วยคุ้มครองป่าที่วังบาดาลประมาณ ๑ กิโลเมตร

กิจกรรม

มีทั้งกิจกรรมเดินป่าและศึกษาธรรมชาติ ดูนก ชมถ้ำ ว่ายน้ำ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติเขาหินลานผี มีความยาวประมาณ ๕ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ ๓ ชั่วโมง สภาพป่าเป็นประเภทเบญจพรรณ  ดิบเขาและผลัดใบ เส้นทางเดินสิ้นสุดที่ชั้นที่ ๕ ของน้ำตกเอราวัณ
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าดิบเขามองเลย์ เส้นทางเดินป่าเส้นนี้คดเคี้ยวไปมาตามน้ำตก ผ่านป่าอันสงบเงียบพร้อมทั้งมีสัญลักษณ์ตีความหมายธรรมชาติติดอยู่ตามที่ต่าง ๑๒ แห่งใช้เวลาประมาณ ๕๐ นาที  ณ

เครื่องอำนวยความสะดวก

อาคารสำนักงาน
- ที่พัก, ร้านอาหาร, ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว, ที่จอดรถ

ที่พัก

บังกะโลภายในอุทยานสำหรับ ๒ ถึง ๘ ท่าน บางหลังมีเครื่องปรับอากาศ
, ที่ตั้งเต้นท์มีไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวเช่นกันบริเวณอาคารสำนักงาน, การเดินทางสู่อุทยานสามารถเดินทางไปกลับได้ภายในวันเดียวจากจังหวัดกาญจนบุรี

การเดินทาง

โดยรถยนตร์จากจังหวัดกาญจนบุรี รถบัสเที่ยวสุดท้ายกลับสู่จังหวัดกาญจนบุรีประมาณ ๑๖๐๐ น
. สามารถจ้างรถจักรยาน(ยนตร์)และรถกระบะนำเที่ยวภายในอุทยาน

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อที่

กรมอุทยานแห่งชาติ - หน้าเอราวัณ - รายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องที่พักติดต่อได้ที่, ที่พัก, การจองระบบออนไลน์,  เครื่องอำนวยความสะดวก เป็นต้น
แผนที่อุทยานแห่งชาติ
แผนที่อุทยานแห่งชาติ

 
 
พันธ์พืชป่า ความหลากหลายไร้ขีดจำกัดของเฉดสีและกลิ่น หมอกแห่งจิตวิญญาณ ลมหายใจแห่งดงป่า น้ำตกที่งดงาม แหล่งน้ำของเมืองไทย หนึ่งในแหล่งอยู่อาศัยของสัตว์ป่าผู้ตกเป็นเหยื่อ ความอุดมสมบูรณ์ของชีิวิตแห่งป่า ความเบ่งบานหลากหลายสีสรร แรงบันดาลใจไร้ที่สิ้นสุด

 

โดยกระทรวงต่างประเทศ

โครงการนี้ได้ริเริ่มและได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากรัฐบาลสาธารณรัฐเชก (โดยกระทรวงต่างประเทศ)
และโดยการสนับสนุนของ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยถูกต้องตามกฎหมาย(DNP), สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย(TEATA), มูลนิธิอนุรักษ์ป่าตะวันตก (FWFCC) และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวกาญจนบุรี(TSK) ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ info[at]westernforest[dot]org
เอื้อเฟ้ือภาพถ่ายและออกแบบเว็บไซต์ โดย เดวิด กูเชรา แปลและเรียบเรียงภาคภาษาไทย โดย กฤศ ธีราทิตยกุล
 

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยถูกต้องตามกฎหมาย